ขอบคุณข่าวและภาพจากเดลินิวส์ |
“สื่อวิทยุ” หลายคนไม่คิดว่าจะเป็นเครื่องมือเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการได้อย่างไร วันชัย บุญประชา เลขานุการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
สังคมชนชั้นกลางเริ่มเข้าใจแล้วว่าการปลูกฝังการอ่านให้กับเด็กช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ การสร้างจินตนาการ พัฒนาสมอง สร้างสมาธิ หนังสือดีคือสื่อสำคัญที่ช่วยเรื่องการเลี้ยงดูเด็กในยุคปัจจุบัน นอกจากหนังสือแล้ว สื่อทีวี รายการทีวีที่มีสาระก็ช่วยเปิดโลกกว้าง สร้างการเรียนรู้ได้เช่นกันพอ ๆ กับแท็บเล็ต สื่อใหม่ที่ต้องให้เด็กใช้อย่างระมัดระวัง จำกัดเวลา เลือกใช้แอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมกับเด็ก “สื่อวิทยุ” หลายคนไม่คิดว่าจะเป็นเครื่องมือเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการได้อย่างไร วันชัย บุญประชา เลขานุการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สสส. ให้ข้อมูลว่า จากการทำงานศึกษาวิจัยด้านเด็กพบว่า สื่อวิทยุมีส่วนสร้างจินตนาการสำหรับเด็ก เมื่อเทียบกับสื่อทีวีแม้เด็กจะได้รับการรับรู้ทั้งการฟังและการเห็นภาพ แต่เด็กจะไม่สร้างจินตนาการใหม่ จะใช้เพียงจินตนาการเดิม ว่าหน้าตาที่เห็นจะเป็นเช่นนี้ แต่สื่อวิทยุบางครั้งเด็กอาจไม่เคยเห็นสิ่งที่พูดในวิทยุ เขาจะจินตนาการ สมองเด็กได้สร้างภาพในสิ่งที่ได้ยิน ช่วยกระตุ้นเซลล์สมองให้ทำงาน
ดังนั้นสื่อวิทยุจะช่วยเสริมจินตนาการการเรียนรู้ของเด็กได้ดีมาก รองมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่เด็กได้อ่านและจินตนาการไปด้วย จะเห็นได้ว่าสื่อวิทยุก็ดีกว่าสื่อทีวี เพียงแต่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่มาก เช่น ในกลุ่มเด็กเล็ก ๆ ถ้าพ่อแม่ไม่เปิดรายการดี ๆ ให้เด็กฟัง ก็ไม่มีโอกาสได้ฟัง เพราะปัจจุบันเด็กใช้สื่ออื่น ๆ เช่น แท็บเล็ต ป.1 ที่รัฐบาลสนับสนุน “ต้องมุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ฟังรายการสำหรับเด็ก ไม่มีทางที่เด็กจะเปิดวิทยุฟังเอง แต่ปรากฏว่าสังคมไทยเด็กฟังรายการวิทยุสำหรับเด็กเมื่ออยู่ในรถ และเป็นเด็กใน กทม. ที่พ่อแม่ขับรถรับ-ส่งลูก ซึ่งเป็นรายการเล่านิทาน มีเกมต่าง ๆ ให้เล่น ที่สถานีวิทยุเอฟเอ็ม 105 ทำอยู่ ส่วนเด็กในต่างจังหวัดขาดโอกาสไม่มีรายการของเด็ก ทางเครือข่ายจึงพยายามให้มีการเชื่อมสัญญาณไปยังโรงเรียนต่าง ๆ อยู่แต่ยังไม่ทั่วถึง”
ปัจจุบันรายการวิทยุสำหรับเด็กไม่ได้มีมากมายดาษดื่นเท่ากับรายการเพลงทั้งหลาย แม้กระทั่งสถานีวิทยุชุมชนเป็นเวทีที่ถกเถียงเรื่องการเมือง ขายสินค้าเสียมากกว่า ในประเด็นที่จะสร้างสังคมแห่งการฟังวิทยุให้กับเด็กเพื่อสร้างจินตนาการนั้นต้องย้อนกลับมาดูว่า มีรายการวิทยุที่ทำเนื้อหาตอบสนองการเรียนรู้ของเด็กได้กี่มากน้อย
“การรวมตัวก่อตั้งชมรมวิทยุเด็กขึ้นมาเป็นความเร่งด่วน เพราะในช่วงนั้นเกือบจะเรียกว่าช็อกเพราะรายการวิทยุเด็กแทบไม่เหลือ จึงต้องเร่งผลิตคนจัดรายการวิทยุเด็กที่มีความเข้าใจด้านเด็กจริง ๆ ออกมา ปรับความเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเด็ก เช่น แค่เปิดเพลง แล้วเพลงสื่อไปในทางที่ผิดก็แย่แล้ว หรือการใช้ภาษาต้องมีวิธีพูด เด็กค่อนข้างจะเรียนรู้เร็ว แต่ก็ต้องรู้ความหมายด้วย” รศ.ชุมพล รอดคำดี นักวิชาการ นิเทศศาสตร์ในฐานะประธานผู้ก่อตั้งชมรมวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัวเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา กล่าว
ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับเครือข่ายวิทยุไทยเพื่อเด็กและครอบครัว พร้อมด้วยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จัดสัมมนาเครือข่ายวิทยุไทยเพื่อเด็กและครอบครัว “ก้าวสำคัญ ร่วมสร้างอนาคตวิทยุเพื่อเด็กไทย” เพื่อร่วมผลักดันและพัฒนาหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่รายการวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัวอย่างยั่งยืน พร้อมทำความเข้าใจประกาศสำนักงานคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2556 ทั้งนี้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงทั้งประเภทบริการสาธารณะ ประเภทกิจการบริการชุมชน และประเภทกิจการบริการทางธุรกิจ ต้องจัดให้มีรายการที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์สังคม หรือรายการสำหรับเด็กและเยาวชน อย่างน้อยวันละ 60 นาทีในช่วงเวลาที่กำหนด
“ในอนาคต กสทช. ยังจะดำเนินการในเรื่องของ ดิจิทัล เรดิโอ ซึ่งสามารถฟังผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย การทำงานเรื่องสื่อวิทยุจึงไม่ติดขัดที่เทคโนโลยี แต่จะทำอย่างไรให้เนื้อหามีความสร้างสรรค์ ซึ่งต้องหารือร่วมกับผู้ผลิตรายการวิทยุให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม สามารถทำได้ง่ายกว่าการผลิตรายการโทรทัศน์เพราะใช้ทุนน้อยกว่า”
สื่อวิทยุจึงเป็นอีกทางเลือกที่พ่อแม่คนไทยต้องมีสิทธิใช้เพิ่มพัฒนาการให้ลูก แต่ติดปัญหาว่าขณะนี้รายการเด็กในสถานีวิทยุมีน้อยมากเมื่อเทียบกับคลื่นวิทยุหลักในบ้านเราที่มีถึง 500 สถานี เห็นที กสทช. ต้องเร่งสปีดการทำงานให้เท่ากับงานประมูลทีวีดิจิทัล เพื่อเร่งให้รายการวิทยุสำหรับเด็กครอบคลุมทั่วประเทศ.
ที่มา - http://www.dailynews.co.th/Content/Article/202647/index.htm
สังคมชนชั้นกลางเริ่มเข้าใจแล้วว่าการปลูกฝังการอ่านให้กับเด็กช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ การสร้างจินตนาการ พัฒนาสมอง สร้างสมาธิ หนังสือดีคือสื่อสำคัญที่ช่วยเรื่องการเลี้ยงดูเด็กในยุคปัจจุบัน นอกจากหนังสือแล้ว สื่อทีวี รายการทีวีที่มีสาระก็ช่วยเปิดโลกกว้าง สร้างการเรียนรู้ได้เช่นกันพอ ๆ กับแท็บเล็ต สื่อใหม่ที่ต้องให้เด็กใช้อย่างระมัดระวัง จำกัดเวลา เลือกใช้แอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมกับเด็ก “สื่อวิทยุ” หลายคนไม่คิดว่าจะเป็นเครื่องมือเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการได้อย่างไร วันชัย บุญประชา เลขานุการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สสส. ให้ข้อมูลว่า จากการทำงานศึกษาวิจัยด้านเด็กพบว่า สื่อวิทยุมีส่วนสร้างจินตนาการสำหรับเด็ก เมื่อเทียบกับสื่อทีวีแม้เด็กจะได้รับการรับรู้ทั้งการฟังและการเห็นภาพ แต่เด็กจะไม่สร้างจินตนาการใหม่ จะใช้เพียงจินตนาการเดิม ว่าหน้าตาที่เห็นจะเป็นเช่นนี้ แต่สื่อวิทยุบางครั้งเด็กอาจไม่เคยเห็นสิ่งที่พูดในวิทยุ เขาจะจินตนาการ สมองเด็กได้สร้างภาพในสิ่งที่ได้ยิน ช่วยกระตุ้นเซลล์สมองให้ทำงาน
ดังนั้นสื่อวิทยุจะช่วยเสริมจินตนาการการเรียนรู้ของเด็กได้ดีมาก รองมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่เด็กได้อ่านและจินตนาการไปด้วย จะเห็นได้ว่าสื่อวิทยุก็ดีกว่าสื่อทีวี เพียงแต่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่มาก เช่น ในกลุ่มเด็กเล็ก ๆ ถ้าพ่อแม่ไม่เปิดรายการดี ๆ ให้เด็กฟัง ก็ไม่มีโอกาสได้ฟัง เพราะปัจจุบันเด็กใช้สื่ออื่น ๆ เช่น แท็บเล็ต ป.1 ที่รัฐบาลสนับสนุน “ต้องมุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ฟังรายการสำหรับเด็ก ไม่มีทางที่เด็กจะเปิดวิทยุฟังเอง แต่ปรากฏว่าสังคมไทยเด็กฟังรายการวิทยุสำหรับเด็กเมื่ออยู่ในรถ และเป็นเด็กใน กทม. ที่พ่อแม่ขับรถรับ-ส่งลูก ซึ่งเป็นรายการเล่านิทาน มีเกมต่าง ๆ ให้เล่น ที่สถานีวิทยุเอฟเอ็ม 105 ทำอยู่ ส่วนเด็กในต่างจังหวัดขาดโอกาสไม่มีรายการของเด็ก ทางเครือข่ายจึงพยายามให้มีการเชื่อมสัญญาณไปยังโรงเรียนต่าง ๆ อยู่แต่ยังไม่ทั่วถึง”
ปัจจุบันรายการวิทยุสำหรับเด็กไม่ได้มีมากมายดาษดื่นเท่ากับรายการเพลงทั้งหลาย แม้กระทั่งสถานีวิทยุชุมชนเป็นเวทีที่ถกเถียงเรื่องการเมือง ขายสินค้าเสียมากกว่า ในประเด็นที่จะสร้างสังคมแห่งการฟังวิทยุให้กับเด็กเพื่อสร้างจินตนาการนั้นต้องย้อนกลับมาดูว่า มีรายการวิทยุที่ทำเนื้อหาตอบสนองการเรียนรู้ของเด็กได้กี่มากน้อย
“การรวมตัวก่อตั้งชมรมวิทยุเด็กขึ้นมาเป็นความเร่งด่วน เพราะในช่วงนั้นเกือบจะเรียกว่าช็อกเพราะรายการวิทยุเด็กแทบไม่เหลือ จึงต้องเร่งผลิตคนจัดรายการวิทยุเด็กที่มีความเข้าใจด้านเด็กจริง ๆ ออกมา ปรับความเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเด็ก เช่น แค่เปิดเพลง แล้วเพลงสื่อไปในทางที่ผิดก็แย่แล้ว หรือการใช้ภาษาต้องมีวิธีพูด เด็กค่อนข้างจะเรียนรู้เร็ว แต่ก็ต้องรู้ความหมายด้วย” รศ.ชุมพล รอดคำดี นักวิชาการ นิเทศศาสตร์ในฐานะประธานผู้ก่อตั้งชมรมวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัวเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา กล่าว
ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับเครือข่ายวิทยุไทยเพื่อเด็กและครอบครัว พร้อมด้วยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จัดสัมมนาเครือข่ายวิทยุไทยเพื่อเด็กและครอบครัว “ก้าวสำคัญ ร่วมสร้างอนาคตวิทยุเพื่อเด็กไทย” เพื่อร่วมผลักดันและพัฒนาหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่รายการวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัวอย่างยั่งยืน พร้อมทำความเข้าใจประกาศสำนักงานคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2556 ทั้งนี้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงทั้งประเภทบริการสาธารณะ ประเภทกิจการบริการชุมชน และประเภทกิจการบริการทางธุรกิจ ต้องจัดให้มีรายการที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์สังคม หรือรายการสำหรับเด็กและเยาวชน อย่างน้อยวันละ 60 นาทีในช่วงเวลาที่กำหนด
“ในอนาคต กสทช. ยังจะดำเนินการในเรื่องของ ดิจิทัล เรดิโอ ซึ่งสามารถฟังผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย การทำงานเรื่องสื่อวิทยุจึงไม่ติดขัดที่เทคโนโลยี แต่จะทำอย่างไรให้เนื้อหามีความสร้างสรรค์ ซึ่งต้องหารือร่วมกับผู้ผลิตรายการวิทยุให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม สามารถทำได้ง่ายกว่าการผลิตรายการโทรทัศน์เพราะใช้ทุนน้อยกว่า”
สื่อวิทยุจึงเป็นอีกทางเลือกที่พ่อแม่คนไทยต้องมีสิทธิใช้เพิ่มพัฒนาการให้ลูก แต่ติดปัญหาว่าขณะนี้รายการเด็กในสถานีวิทยุมีน้อยมากเมื่อเทียบกับคลื่นวิทยุหลักในบ้านเราที่มีถึง 500 สถานี เห็นที กสทช. ต้องเร่งสปีดการทำงานให้เท่ากับงานประมูลทีวีดิจิทัล เพื่อเร่งให้รายการวิทยุสำหรับเด็กครอบคลุมทั่วประเทศ.
ที่มา - http://www.dailynews.co.th/Content/Article/202647/index.htm
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment