ภาพและบทความจาก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/38115 |
กรมสุขภาพจิต เผยพบวัยรุ่นมีปัญหาการเรียนมารับการปรึกษาร้อยละ 15-30 แนะ 4 วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ
แพทย์หญิงทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นชำนาญการ ประจำสถาบันสุขภาพ จิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า คลินิกสุขภาพจิตวัยรุ่นของสถาบัน พบวัยรุ่นมีปัญหาการเรียนมารับการปรึกษาร้อยละ 15-30 ถือว่ามากพอสมควร บางคนฉลาดแต่สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆได้นาน หรือบางคนมีความบกพร่องด้านทักษะการเรียนรู้ แม้จะพยายามแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจ ซึ่งพบได้ร้อยละ 5 เด็กกลุ่มนี้จะต้องการการช่วยเหลือทักษะการเรียนเป็นพิเศษรายบุคคล และเป็นปัญหาสะสมตั้งแต่วัยเรียน วัยประถม พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติ โดยเฉพาะค่านิยมเด็กเรียนเก่ง เรียนดี และสอบเอ็นทรานซ์ติด ต้องให้กำลังใจเด็ก เข้าใจเด็ก มีข้อบกพร่องด้านใดต้องพยายามช่วยประคับ ประคองเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ก็จะช่วยลูกลดความเครียดสะสมในเรื่องการเรียนได้
"เด็กที่ผิดหวังบ่อยๆ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งขณะนี้พบได้ร้อยละ 15-30 และแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละประมาณร้อยละ 3 ต่อปี"
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรควิตกกังวล เด็กขาดความมั่นใจ ขาดความเชื่อมั่นและขาดความศรัทธาตนเอง ขาดศรัทธาในการทำสิ่งดีๆ อีก ต่อๆ ไป ซึ่งอันตรายมาก
ทั้งนี้ วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจแก่ลูก ประกอบด้วย
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า /แชร์ต่อมาจากเพจ Thai Health Promotion Foundation #เรื่องน่ารู้
แพทย์หญิงทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นชำนาญการ ประจำสถาบันสุขภาพ จิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า คลินิกสุขภาพจิตวัยรุ่นของสถาบัน พบวัยรุ่นมีปัญหาการเรียนมารับการปรึกษาร้อยละ 15-30 ถือว่ามากพอสมควร บางคนฉลาดแต่สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆได้นาน หรือบางคนมีความบกพร่องด้านทักษะการเรียนรู้ แม้จะพยายามแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจ ซึ่งพบได้ร้อยละ 5 เด็กกลุ่มนี้จะต้องการการช่วยเหลือทักษะการเรียนเป็นพิเศษรายบุคคล และเป็นปัญหาสะสมตั้งแต่วัยเรียน วัยประถม พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติ โดยเฉพาะค่านิยมเด็กเรียนเก่ง เรียนดี และสอบเอ็นทรานซ์ติด ต้องให้กำลังใจเด็ก เข้าใจเด็ก มีข้อบกพร่องด้านใดต้องพยายามช่วยประคับ ประคองเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ก็จะช่วยลูกลดความเครียดสะสมในเรื่องการเรียนได้
"เด็กที่ผิดหวังบ่อยๆ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งขณะนี้พบได้ร้อยละ 15-30 และแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละประมาณร้อยละ 3 ต่อปี"
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรควิตกกังวล เด็กขาดความมั่นใจ ขาดความเชื่อมั่นและขาดความศรัทธาตนเอง ขาดศรัทธาในการทำสิ่งดีๆ อีก ต่อๆ ไป ซึ่งอันตรายมาก
ทั้งนี้ วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจแก่ลูก ประกอบด้วย
- ตระหนักรู้ในตัวตนของลูกว่ามีความสามารถอะไร เก่งอะไร อะไรคือจุดอ่อน จุดแข็ง โดยให้พัฒนาต่อจุดแข็ง และ พยายามปรับปรุงจุดอ่อนของลูก
- สังเกตการปรับตัวของลูกที่โรงเรียน
- ติดตามเอาใจใส่เรื่องความรับผิดชอบและผลการเรียนอย่างใกล้ชิด
- คอยประคับประคองช่วยเหลือให้กำลังใจ ยืนข้างๆ ลูก ถ้าเด็กมีความพยายามและตั้งใจที่ดีก็จะเก่งได้ในวันข้างหน้า และสามารถเป็นที่พึ่งเลี้ยงตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งคนอื่น
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า /แชร์ต่อมาจากเพจ Thai Health Promotion Foundation #เรื่องน่ารู้
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment