ศ.เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา (ขอบคุณภาพจากเดลินิวส์) |
บอร์ดคุรุสภาเสียงแตก กรณีออกประกาศคุรุสภาฉบับใหม่ บังคับบัณฑิตครูต้องสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่มีการได้รับโดยอัตโนมัติ เริ่มใช้กับนักศึกษาใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557
วันนี้ (19ธ.ค.) ศ.เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างประกาศคุรุสภาเรื่องการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ โดยมีสาระสำคัญ คือ คณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการเกี่ยวกับเกณฑ์การรับรองปริญญารูปแบบใหม่คือนักศึกษาที่จบปริญญาตรีสาขาดังกล่าวจะยังไม่ได้รับใบประกอบวิชาชีพครูโดยอัตโนมัติเหมือนที่ผ่านมาแต่ต้องสอบรับใบอนุญาต โดยเป็นการทดสอบความสามารถว่าเป็นครูได้หรือไม่ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวิชาชีพครูที่ต้องมีการตรวจสอบและดูแลคุณภาพวิชาชีพอย่างเข้มข้น แต่ก็อาจเป็นภาระของสถาบันการศึกษาและผู้เรียนที่ต้องการเข้าสู่วิชาชีพครูที่จะต้องมีความสนใจ ตั้งใจ และมีการเตรียมตัวมากขึ้น นอกจากนี้ในประกาศยังกำหนดให้สถาบันที่ผลิตครูรับนักศึกษาต่อห้องได้ไม่เกิน 30 คนเท่านั้น
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อไปว่า แนวทางการสอบใบประกอบวิชาชีพครูดังกล่าวจะใช้กับผู้ที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป ดังนั้นจะมีเวลา 4-5 ปี กว่าจะใช้ประกาศดังกล่าว ดังนั้นคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ และคุรุสภาต้องร่วมกันเตรียมการจัดสอบให้เหมาะสมและมีคุณภาพตรงกับความต้องการของหน่วยงานใช้ครู ทั้งนี้การสอบรับใบอนุญาตสามารถสอบได้หลายครั้งหากปีนี้สอบไม่ผ่านก็ยังสามารถสอบได้ในปีต่อไปจนกว่าจะได้ แต่หากไม่ได้ก็ไม่สามารถเข้าสอนในสถาบันการศึกษาได้เพราะคุรุสภาจะไม่ออกรับรองการสอนชั่วคราวให้ไม่ว่ากรณีใดๆ
“การพัฒนาวิชาชีพครูหากทำเหมือนที่ผ่านมาก็จะมีค่าเท่าเดิม ดังนั้นถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นก็ควรต้องทำเพื่อให้วิชาชีพครูได้รับการดูแลและพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจังและให้สังคมเชื่อมั่นว่าเป็นวิชาชีพที่ได้รับการตรวจสอบมากขึ้นและเกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง” ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ กรรมการคุรุสภา ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวว่า ร่างประกาศคุรุสภาดังกล่าวจะเป็นการยกระดับวิชาชีพครูเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ เช่น วิชาชีพแพทย์ที่ต้องมีการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่ได้ให้ใบประกอบวิชาชีพโดยอัตโนมัติ ซึ่ง ส.ค.ศ.ท. กังวลเพียงเรื่องประสิทธิภาพของการสอบที่จะต้องพัฒนาระบบให้ดีและต้องสามารถวัดสมรรถนะความเป็นครูได้มากกว่าวัดความรู้ รวมทั้งคุรุสภาจะต้องควบคุมระบบการติวในการสอบให้ได้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคุรุสภาได้มีการถกเถียงเรื่องของประกาศดังกล่าวอย่างมากโดยอีกฝ่ายเห็นว่าประกาศข้างต้นควรให้ใช้เฉพาะสถาบันที่ไม่ปฎิบัติตามเกณฑ์การรับรองผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาต ส่วนสถาบันที่ปฎิบัติตามเกณฑ์การรับรองอยู่แล้วก็ไม่ต้องสอบ
ที่มา - dailynews.co.th วันพฤหัสบดี 19 ธันวาคม 2556
#ข่าวน่าสนใจ
วันนี้ (19ธ.ค.) ศ.เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างประกาศคุรุสภาเรื่องการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ โดยมีสาระสำคัญ คือ คณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการเกี่ยวกับเกณฑ์การรับรองปริญญารูปแบบใหม่คือนักศึกษาที่จบปริญญาตรีสาขาดังกล่าวจะยังไม่ได้รับใบประกอบวิชาชีพครูโดยอัตโนมัติเหมือนที่ผ่านมาแต่ต้องสอบรับใบอนุญาต โดยเป็นการทดสอบความสามารถว่าเป็นครูได้หรือไม่ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวิชาชีพครูที่ต้องมีการตรวจสอบและดูแลคุณภาพวิชาชีพอย่างเข้มข้น แต่ก็อาจเป็นภาระของสถาบันการศึกษาและผู้เรียนที่ต้องการเข้าสู่วิชาชีพครูที่จะต้องมีความสนใจ ตั้งใจ และมีการเตรียมตัวมากขึ้น นอกจากนี้ในประกาศยังกำหนดให้สถาบันที่ผลิตครูรับนักศึกษาต่อห้องได้ไม่เกิน 30 คนเท่านั้น
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อไปว่า แนวทางการสอบใบประกอบวิชาชีพครูดังกล่าวจะใช้กับผู้ที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป ดังนั้นจะมีเวลา 4-5 ปี กว่าจะใช้ประกาศดังกล่าว ดังนั้นคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ และคุรุสภาต้องร่วมกันเตรียมการจัดสอบให้เหมาะสมและมีคุณภาพตรงกับความต้องการของหน่วยงานใช้ครู ทั้งนี้การสอบรับใบอนุญาตสามารถสอบได้หลายครั้งหากปีนี้สอบไม่ผ่านก็ยังสามารถสอบได้ในปีต่อไปจนกว่าจะได้ แต่หากไม่ได้ก็ไม่สามารถเข้าสอนในสถาบันการศึกษาได้เพราะคุรุสภาจะไม่ออกรับรองการสอนชั่วคราวให้ไม่ว่ากรณีใดๆ
“การพัฒนาวิชาชีพครูหากทำเหมือนที่ผ่านมาก็จะมีค่าเท่าเดิม ดังนั้นถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นก็ควรต้องทำเพื่อให้วิชาชีพครูได้รับการดูแลและพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจังและให้สังคมเชื่อมั่นว่าเป็นวิชาชีพที่ได้รับการตรวจสอบมากขึ้นและเกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง” ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ กรรมการคุรุสภา ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวว่า ร่างประกาศคุรุสภาดังกล่าวจะเป็นการยกระดับวิชาชีพครูเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ เช่น วิชาชีพแพทย์ที่ต้องมีการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่ได้ให้ใบประกอบวิชาชีพโดยอัตโนมัติ ซึ่ง ส.ค.ศ.ท. กังวลเพียงเรื่องประสิทธิภาพของการสอบที่จะต้องพัฒนาระบบให้ดีและต้องสามารถวัดสมรรถนะความเป็นครูได้มากกว่าวัดความรู้ รวมทั้งคุรุสภาจะต้องควบคุมระบบการติวในการสอบให้ได้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคุรุสภาได้มีการถกเถียงเรื่องของประกาศดังกล่าวอย่างมากโดยอีกฝ่ายเห็นว่าประกาศข้างต้นควรให้ใช้เฉพาะสถาบันที่ไม่ปฎิบัติตามเกณฑ์การรับรองผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาต ส่วนสถาบันที่ปฎิบัติตามเกณฑ์การรับรองอยู่แล้วก็ไม่ต้องสอบ
ที่มา - dailynews.co.th วันพฤหัสบดี 19 ธันวาคม 2556
#ข่าวน่าสนใจ
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment